การกำกับดูแลกิจการที่ดี
นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
นโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด
(มหาชน)
บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”)
และบริษัทย่อย ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
อย่างระมัดระวังในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น
ผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง
บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
เพื่อใช้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
1. ขอบเขตการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
เมื่อมีข้อสงสัยเชื่อว่า
หรือมีเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่า มีการกระทำที่ไม่สุจริตหรือไม่โปร่งใส
หรือมีการฝ่าฝืนหลักปฏิบัติที่ดีในเรื่อง
1) นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ ข้อกำหนด
หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของบริษัท
2) การกำกับดูแลกิจการที่ดี
จรรยาบรรณและจริยธรรม
3) กฎหมาย ข้อกำหนดของทางการ
2. บุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
บุคลากรของบริษัททุกระดับ รวมถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ทราบข้อสงสัยตามขอบเขตที่ระบุไว้ในข้อ
2 สามารถแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนต่อบริษัทได้
3. ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้ประธานกรรมการตรวจสอบ
กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการทั่วไป และฝ่ายทรัพยากรบุคคล
เป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน โดยจะพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ
ระมัดระวัง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน
จะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
(ชื่อหรือตำแหน่งผู้ถูกร้องเรียน การกระทำความผิดที่พบเห็น
เวลาที่เห็นการกระทำความผิด) พร้อมชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล์ที่สามารถติดต่อได้ของผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน
และส่งมายังช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ดังนี้
1) ผ่านช่องทางอีเมล์
- ประธานกรรมการตรวจสอบ e-mail thanetrk@gmail.com
- กรรมการผู้จัดการ e-mail twijit@irvingthai.com
- ผู้จัดการทั่วไป e-mail ttanapat@filtervision-thai.com
- เลขานุการบริษัท e-mail cs@filtervision-thai.com
- ฝ่ายทรัพยากรบุคคล e-mail arthits@filtervision-thai.com
2) ผ่านช่องทาง Website ของบริษัท www.filtervision.co.th
3) ผ่านช่องทางไปรษณีย์
ส่งไปรษณีย์
ถึง
ประธานกรรมการตรวจสอบ/
กรรมการผู้จัดการ/ ผู้จัดการทั่วไป/ เลขานุการบริษัท หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล
บริษัท ฟิลเตอร์
วิชั่น จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 95 ซอยรามอินทรา
117 ถนนรามอินทรา แขวงมีนบุรี
เขตมีนบุรี
กรุงเทพมหานคร 10510
4) ผ่านช่องทาง “กล่องรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน” (ตั้งอยู่ภายในบริษัท)
การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต้องเป็นความจริงและมีข้อมูลเพียงพอที่จะพิจารณาดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงต่อไปได้
ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินการพิจารณาเบาะแสและข้อร้องเรียนจะขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของเรื่อง
คำชี้แจงของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน
3. การให้ความคุ้มครองและรักษาความลับ
1) บริษัทจะไม่กระทำการอันไม่เป็นธรรมต่อพนักงานหรือบุคคลที่ให้เบาะแสหรือข้อร้องเรียน
ไม่ว่าจะโดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน หรือสถานที่ทำงาน สั่งพักงาน
ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน และเลิกจ้าง
หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
2) การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนจะถือเป็นความลับที่สุด
บริษัทและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง
ต้องเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ จะเปิดเผยเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้ให้เบาะแสหรือข้อร้องเรียน
รวมถึงผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แหล่งที่มาของข้อมูล
ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3) บริษัทจะไม่เปิดเผยชื่อ
ที่อยู่ หรือข้อมูลของผู้ให้เบาะแสหรือผู้ร้องเรียน หากไม่ได้รับความยินยอม
เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
4) กรณีที่ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน
หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าตนอาจไม่ปลอดภัย
หรืออาจได้รับความเดือดร้อน เสียหาย สามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการ
ให้การคุ้มครองที่เหมาะสมได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียนไม่ต้องร้องขอก็ได้
หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายหรือไม่ปลอดภัย
5) พนักงานที่ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นนั้น อันมีเหตุจูงใจมาจากการที่บุคคลอื่นนั้นได้ร้องเรียน ได้แจ้งข้อมูลร้องเรียน หรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมไปถึงการที่บุคคลอื่นนั้นฟ้องร้องดำเนินคดี เป็นพยานให้ถ้อยคำ หรือให้ความร่วมมือใดๆ ต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐถือเป็นการกระทำความผิดวินัยที่ต้องได้รับโทษ ทั้งนี้ อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้หากเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย
4. ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง
1) ในการดำเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง
ให้ผู้รับเรื่องร้องเรียนดำเนินการเสนอเรื่องให้บุคคลดังต่อไปนี้
ทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง (“ผู้ตรวจสอบ”) ตามที่ได้รับเรื่องร้องเรียน
(1)
กรณีผู้ถูกร้องเรียนเป็นพนักงานระดับต่ำกว่าผู้บริหาร
ให้กรรมการผู้จัดการ
และ/หรือ บุคคลหรือหน่วยงานที่กรรมการผู้จัดการมอบหมาย
ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ
(2)
กรณีผู้ถูกร้องเรียนเป็นพนักงานระดับตั้งแต่หรือเทียบเท่าผู้บริหาร
ให้คณะกรรมการตรวจสอบ
และ/หรือ บุคคลหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมายทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ
ในกรณีมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆ
ผู้ตรวจสอบสามารถเชิญพนักงานคนใดคนหนึ่ง
หรือผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบโดยตรงของผู้ร้องเรียน
มาให้ข้อมูลหรือขอให้จัดส่งเอกสารใดๆ
ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงได้
2) หากตรวจสอบแล้วพบว่าเรื่องร้องเรียนเป็นความจริง
บริษัทจะดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริต
หรือผิดกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
ให้ผู้ตรวจสอบ พิจารณาเสนอ
ข้อร้องเรียนดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาต่อไป
(2) ให้ผู้ตรวจสอบแจ้งความคืบหน้าและผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดและการทุจริต
ให้กับผู้ร้องเรียนที่ได้เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์
หรือช่องทางติดต่ออื่นๆไว้ อย่างไรก็ตาม
ในบางครั้งด้วยเหตุผลความจำเป็นในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความลับ
บริษัทอาจไม่สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบสวนหรือการลงโทษทางวินัย
(3) ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ หรือฐานะทางการเงินของบริษัท ขัดแย้งกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น ให้ผู้ตรวจสอบพิจารณาเสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาต่อไป
(4) ในกรณีที่ข้อร้องเรียนทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่ง
ผู้ตรวจสอบจะเสนอวิธีการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรได้