Untitled-4.jpg
k2-3.jpg

"น้ำกลั่น" ดื่มได้หรือไม่ ?

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำมากถึง 70% เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ และในการทำงานของเซลล์ต่างๆ จำเป็นต้องใช้น้ำ ถ้าเราบริโภคอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้สด เราจะได้รับน้ำจำนวนมาก เนื่องจากในอาหารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำประมาณ 80% แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่ได้บริโภคเฉพาะพืชผักเท่านั้น ดังนั้นมนุษย์เราจึงจำเป็นต้องดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากในชีวิตประจำวันของเรา เราสูญเสียผ่านทางผิวหนัง การขับถ่าย การหายใจ และนอกจากนี้เมื่อเราออกกำลังกาย หรือในภาวะอากาศร้อน ร่างกายก็จะสูญเสียน้ำมากขึ้น ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ จะสังเกตได้ง่ายว่าปากจะแห้ง นอกจากนี้ยังทำให้หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดหัว กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตะคริว ซึมเศร้า หงุดหงิด เบื่ออาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงว่าขณะนี้เซลล์กำลังขาดน้ำ 

สำหรับผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำวันละประมาณ 2-3 ลิตรหรือ 8 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณดังกล่าวยังแปรผันตามปัจจัยหลายๆอย่างได้แก่ น้ำหนักตัว ขนาดร่างกาย อุณหภูมิภายนอก ความชื้น การออกกกำลังกาย และกิจกรรมที่ทำ นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วเครื่องดื่มบางประเภท อาทิเช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่ผสมคาเฟอีน เบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยังทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมากขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้การดื่มน้ำในมื้ออาหารไม่ควรดื่มในปริมาณมาก เนื่องจากจะทำให้น้ำย่อยที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารเจือจางลงและทำให้อาหารเคลื่อนตัวเร็ว ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้เต็มที่ ดังนั้นเราจึงควรดื่มน้ำก่อนและหลังอาหารประมาณ 15-20 นาที

น้ำดื่มที่ดีที่สุดสำหรับเราคือน้ำบริสุทธิ์ซึ่งปราศจากสิ่งปนเปื้อนทุกชนิด ในขณะที่น้ำประปานั้นจะพบ คลอรีน เรดอน สารหนู และสารเคมีบางอย่าง ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย สำหรับน้ำกรอง น้ำแร่ น้ำใต้ดินนั้นก็มีสารเคมีบางอย่างที่ร่างกายไม่ต้องการเช่นกัน และสำหรับแร่ธาตุในน้ำแร่นั้นเป็นแร่ธาตุอนินทรีย์ซึ่งร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งการดื่มน้ำแร่นั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ร่างกายเนื่องจากร่างกายต้องสูญเสียพลังงานส่วนหนึ่งเพื่อใช้กำจัดแร่ธาตุเหล่านี้ออกจากร่างกาย ดังนั้น น้ำบริสุทธิ์ที่ดีที่สุดคือ น้ำฝนหรือน้ำกลั่นซึ่งปราศจากสารปนเปื้อนและสารเคมีอื่นใด นอกจากนี้น้ำกลั่นยังช่วยนำพาแร่ธาตุอนินทรีย์ออกจากร่างกายอีกด้วย
 


น้ำกลั่นตามธรรมชาติ คือ น้ำฝน ซึ่งมาจากแหล่งน้ำบนโลกซึ่งระเหยกลายเป็นไอและจับตัวเป็นก้อนเมฆซึ่งจะเกิดการควบแน่นจากไอกลายเป็นหยดน้ำอีกครั้งในรูปของน้ำฝนหรือหิมะ แต่น้ำฝนในเมืองใหญ่ๆ นั้นเป็นน้ำที่มีการปนเปื้อนจากมลภาวะในอากาศจึงไม่เหมาะแก่การดื่ม 

น้ำกลั่นเป็นน้ำที่ไม่มีรสชาติและมีความหนืดต่ำจึงสามารถที่จะซึมผ่านเซลล์และช่องว่างต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถชะล้างสารพิษและนำพาสารพิษเหล่านั้นออกจากเซลล์ ผ่านไปตามระบบน้ำเหลืองเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย ดังนั้นการดื่มน้ำกลั่นจึงเป็นการช่วยเพื่อความชุ่มชื้นให้แก่เซลล์และยังช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากน้ำกลั่นแล้ว ผักผลไม้สดก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งของน้ำบริสุทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราจึงจัดว่าน้ำผัก ผลไม้เป็นอาหารชั้นเยี่ยมอย่างหนึ่งที่ควรจะดื่มเป็นประจำ

น้ำกลั่นเป็นน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ จึงไม่เหมาะแก่การบริโภคจริงหรือ ?

ข้อมูลจากการประปาส่วนภูมิภาคบอกว่า น้ำกลั่น คือ น้ำที่ได้จากการควบแน่นด้วยเครื่องกลั่นน้ำ (ควบแน่นก็คือการต้มน้ำให้กลายเป็นไอแล้วทำให้ไอน้ำเย็นลงจนกลายเป็นหยดน้ำอีกครั้ง เพื่อกำจัดเอาแร่ธาตุทุกชนิดให้แยกตัวออกไป) จึงมีความบริสุทธิ์สูงมาก มีเกลือแร่ละลายน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย

ในเรื่องคุณภาพแล้วอาจมีธาตุทองแดงเจือปนอยู่บ้าง หากกลั่นด้วยเครื่องกลั่นที่ทำด้วยขดลวดทองแดง นอกจากนี้ ค่าพีเอช (pH) หรือค่าความเป็นกรดด่างของน้ำกลั่นจะค่อนข้างไปทางกรด มักวัดได้ต่ำกว่า 6 (ค่าระดับ 7 คือเป็นกลาง, ต่ำกว่าเป็นกรด และมากกว่าเป็นด่าง) 

    ทั้งนี้ เพราะว่า น้ำดิบที่เข้าเครื่องกลั่น มักมีคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตละลายอยู่ ซึ่งจะแตกตัวให้คาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก๊าซนี้ละลายน้ำจะทำให้น้ำกลั่นมีฤทธิ์เป็นกรด 

    ถ้าต้องการให้น้ำกลั่นมีค่าเป็นกลาง ก็ทำได้ง่ายๆ โดยต้มให้เดือด เพื่อไล่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นานอย่างน้อย 15 นาที ตัวกำหนดคุณภาพน้ำที่นิยมใช้วัดความบริสุทธิ์ของน้ำกลั่น คือ ค่าสารละลาย (Total dissolved solids) มักจะมีค่าประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) ประมาณ 2-3 ไมโครซีเมนต่อเซนติเมตร ซึ่งมีความหมายว่าน้ำกลั่นคือน้ำที่ปราศจากคุณสมบัติทางด้านเคมี และแบคทีเรีย

    เนื่องจากน้ำกลั่นมีความบริสุทธิ์สูงมาก ไม่มีแร่ธาตุ ในทางการแพทย์จึงนำไปใช้ในการเตรียมสารละลายต่างๆ เช่น ทำน้ำเกลือ เป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแบคทีเรีย ดังนั้น ไม่ควรนำมาดื่ม

    ในด้านห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ก็ใช้ในการเตรียมน้ำยาต่างๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรม ใช้ในการเจือจางต่างๆ เช่น ใช้ในการเติมแบตเตอรี่ เพื่อเจือจางน้ำกรด อันนี้ข้างขวดจะเขียนว่าห้ามดื่ม เนื่องจากอาจไม่สะอาดในกระบวนการกลั่นกรอง และอาจมีสารละลายอื่นๆ ที่เติมลงมาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย เช่น กรดกำมะถัน ส่วนนี้ทำให้น้ำกลั่นบางยี่ห้อมีราคาแพงกว่ายี่ห้ออื่นๆ

    มีแพทย์ชื่อ นายแพทย์โจเซฟ เมอร์โคลา (Joseph Mercola) ได้เขียนบทความเรื่อง "การตายก่อนวัยอันควรเนื่องจากการดื่มน้ำกลั่น" ไว้ระบุว่า เมื่อดื่มน้ำกลั่นเป็นประจำ จะเกิดการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกและหัวใจอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกพรุน และกล้ามเนื้อหัวใจที่มีธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม จะไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 

    การดื่มน้ำกลั่นหรือน้ำที่ปราศจากเกลือแร่ย่อมทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดเกลือแร่หลัก รวมทั้งเกลือแร่ที่หายาก น้ำกลั่นจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งน้ำที่ดีหรือน้ำในอุดมคติ ต้องมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ เนื่องจากร่างกายมี pH 7.4 ถ้าเมื่อใด pH ในเลือดเป็น 6.8 จะเกิดอาการกรดเป็นพิษ การที่จะมีฤทธิ์เป็นด่างนี้คือน้ำจะต้องมีเกลือแร่ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ละลายอยู่

ข้อมูลเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของวิธีการทำน้ำให้สะอาดแต่ละวิธี

การกรองด้วยไส้คาร์บอน


การกรองด้วยวิธี Reverse osmosis ( R.O.)

วิธีนี้น้ำจะซึมผ่านเยื่อกรองที่สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนบางชนิดออกได้โดยไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งหลักการคือ น้ำในบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง (สารเจือปนสูง) จะถูกแรงดันให้น้ำบริเวณนี้เคลื่อนเข้าสู่บริเวณน้ำสะอาด และจะมีเฉพาะสารโมเลกุลเล็กเท่านั้นที่สามารถผ่านเยื่อกรองไปได้

การกลั่น

 

ตารางเปรียบเทียบความสามารถของการทำน้ำให้สะอาดแต่ละวิธี

 

ที่มาข้อมูล myfirstbrain.com 1 ธันวาคม 2553

COPYRIGHT © 2018 บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) สงวนลิขสิทธิ์